วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติความเป็นมาของจังหวะไจว์ฟ



ประวัติความเป็นมาของจังหวะไจว์ฟ

ไจว์ฟเป็นจังหวะหนึ่งในการเต้นลีลาศ ซึ่งเป็นการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ. 1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรี



การเต้นลีลาศมีสองลักษณะคือ เพื่อสังสรรค์สนุกสนานในงานสังคม (Social Dance) และเป็นกีฬาเต็มรูปแบบ (Sport Dance) ที่ต้องฝึกซ้อมเข้มข้นเพื่อการแข่งขันโดยเฉพาะ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกก็บรรจุกีฬาลีลาศเข้าไว้ด้วยเช่นกัน


ประเภทของจังหวะลีลาศ ได้แก่ 

1. ประเภทโมเดิร์นหรือบอลรูม (MODERN OR BALLROOM)
การลีลาศแบบนี้จะมีลักษณะการเต้น และท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล อ่อนหวาน สง่างามและเฉียบขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรง ผึ่งผาย ขณะก้าวเท้านิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ

      วอลซ์ (WALTZ)
      แทงโก้ (TANGO)
      เวียนนิสวอลซ์ (VIENNESE WALTZ)
      สโลว์ ฟอกซ์ทรอท ( SLOW FOXTROT)
       ควิ๊กสเต็ป (QUICKSTEP)

2. ประเภทละตินอเมริกัน  (LATIN AMERICAN)

การลีลาศแบบนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว เข่าและข้อเท้าเป็นสำคัญ ท่วงทำนองดนตรีและจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 
5 จังหวะ คือ

       แซมบ้า (SAMBA)
       ช่า ช่า ช่า (CHA CHA CHA)
       รุมบ้า (RUMBA)
       พาโซโดเบล์ (PASO DOBLE)
       ไจว์ฟ (JIVE)

นอกจากนี้ สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้นยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (POP OR SOCIAL DANCE) อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกันได้แก่ จังหวะบีกิน อเมริกันรัมบ้า กัวราช่า ออฟบีพ ตะลุงเทมโป้ และรอค แอนด์ โรล เป็นต้น

ประวัติของจังหวะไจว์ฟ



ไจว์ฟ เป็นจังหวะหนึ่งในกีฬาลีลาศ เป็นการเต้นรำที่มีจังหวะจะโคน และการสวิงค์ ซึ่งพัฒนามาจากหลายๆจังหวะรวมกัน ได้แก่  Rock 'n' Roll , Bogie และ African / American Swing เน้นที่การดีด สะบัด เตะปลายเท้า

 ต้นกำเนิดของ ไจว์ฟมาจาก New York, Halem ใน ค.ศ.1940 ไจว์ฟได้ถูกพัฒนาไปสู่จังหวะ จิตเตอร์บัคจ์ (Jitterbug) และจากนั้น Ms.Jos Bradly และ Mr.Alex Moore ชาวอังกฤษ ได้พัฒนาจังหวะดังกล่าว เข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล


รูปแบบของจังหวะไจว์ฟ
จังหวะ "ไจว์ฟ" คู่เต้นรำควรแสดง การใช้จังหวะ (Rhythm) ซึ่งเป็นความต้องการของผู้ชม "จังหวะและก็จังหวะ" ผสมผสานกับความสนุกสนานและการใช้พลังอย่างสูง การเน้นจังหวะล้วนอยู่ที่ขาทั้งคู่ ที่แสดงให้เห็นถึงการเตะและการดีดสบัดปลายเท้า
 คู่เต้นรำต่างเอาใจใส่กับการเคลื่อนที่ไปรอบๆ เต้นเข้าและเต้นออกรอบจุดศูนย์กลางที่เคลื่อนไหวอยู่ การเต้นลักษณะนี้มือต้องจับ (Hold) กันไว้

การออกแบบท่าเต้น ควรสมดุลย์ร่วมกับลีลาที่ผสมผสานกลมกลืนของการเต้นที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการแสดงเดี่ยวที่ต้องทำให้เกิดผลสะท้อนกลับของผู้ชม การเต้นจังหวะนี้ หากมีปฏิกิริยาตอบรับจากผู้ชม จะมีผลทำให้คู่เต้นรำมีกำลังใจยิ่งขึ้น
 
ดนตรีและการนับจังหวะ 

      ดนตรีของจังหวะไจฟว์เป็นแบบ 4/4 คือ มี 4 จังหวะใน 1 ห้องเพลง ดนตรีจะมีเสียงเน้นหนักใน จังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม ดังอยู่ตลอดเพลง
     
     การเต้นไจฟว์มีหลายรูปแบบ ทั้งแบบ Single Rhythm ( Boogie –Woogie หรือ ร็อค 4 ) Double Rhythm (Jitterbug หรือ ร็อค  6 ) หรือ Triple Rhythm ( Jive หรือ ร็อค 8) โดยนิยมเต้นในแบบ Triple Rhythm

     การเต้นไจฟว์ในแบบ Triple Rhythm มี 8 ก้าว การนับจังหวะจะเป็นแบบ 1,2,3-4-5,6-7-8 หรือ 1,2,3 และ 4,3 และ 4 หรือ เร็ว, เร็ว, เร็วและเร็ว, เร็วและเร็ว ก็ได้ โดยที่ก้าวที่ 1,2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ 1 จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะส่วนก้าวที่เรียก “ และ ” มีค่าเท่ากับ 1/4 จังหวะ
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 50 ห้องเพลงต่อนาที) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น