เคหพยาบาล
การเคหพยาบาล หมายถึง การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเมื่อมี การเจ็บป่วยหรือในระยะฟักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและบรรเทาความทุกข์ทรมาน
การพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน
โดยทั่วไปบุคคลส่วนใหญ่เมื่อเกิดเจ็บป่วยเรื้อรังมักต้องการรักษาตัวที่บ้านมากกว่าไปอย่ที่โรงพยาบาลเนื่องจากการรักษาพยาบาลที่บ้านมีความสะดวกสบาย และอบอุ่นจากการใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวมากกว่าการรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากในกรณีที่เกิดเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน และมีอาการที่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจรักษาจริง ๆ จึงจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนั้น การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านผู้ให้การพยาบาลควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน และรู้จักดัดแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตามสมควรและช่วยให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติเร็วยิ่งขึ้น
ประโยชน์ของการเคหพยาบาล
1. ช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านหลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับมาฟักฟื้นที่บ้านได้ ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย
2. ช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและของทุกคนในครอบครัว และลดความวิตกกังวลทางสภาพจิตใจเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยได้เพราะสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด
3. ลดอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นและสามารถปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้
4. ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่รอคอยการรักษาให้มีจำนวนน้อยลง
วิธีสังเกตอาการผู้ป่วยโดยทั่วไป
ผู้ที่พยาบาลผู้ป่วยในบ้านควรสนใจสุขภาพของทุกคนในครอบครัวฃองตน และเข้าใจอาการเปลี่ยนแปลงที่แสดงว่ามีการเจ็บป่วยขึ้น อาการที่เจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค ดังนั้น ผู้ที่พยาบาลจะต้องระ จักสังเกตอาการของผู้ป่วยและสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ความผิดปกติที่จะสังเกตได้ มีดังนี้
1. ใบหน้า อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ใบหน้ามีลักษณะแดง ซีด ขาว
1.2 ตามีลักษณะแดง เหลือง น้ำตาไหล ซึม มัว ใสผิดปกติ มีอาการระคายเคืองต่อแสงสว่าง
1.3 จมูกมีน้ำมูกไหล เลือดออก เป็นแผล เจ็บ หายใจไม่ออก
1.4 หูมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองไหล ปวด บวม แดง
1.5 ปากแห้ง แตก ลิ้นเป็นฝ้า ไอเจ็บคอ ภายใต้คอแดงหรือเป็นฝ้า
2. หน้าอกมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจขัด แรงเร็ว บางรายอาจถึงชัก หรือมีอาการปวดเจ็บภายในบริเวณอก
3. ท้อง มีอาการท้องขึ้น อืด เฟ้อ ท้องผูก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร
4. กล้ามเนื้อ มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ
5. ผิวหนัง มีอาการบวม แดง ซีด มีเม็ดหรือผื่นขึ้น ผิวหนังอาจร้อนหรือเย็นกว่าปกติ เมื่อเอามือไปสัมผัส
6. อารมณ์ มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย หากเป็นเด็กจะร้องกวนบ่อย
อุณหภูมิ ชีพจร และการหายใจ
อุณหภูมิ ชีพจร และการหายใจ อุณหภูมิเป็นสิ่งที่บอกถึงความมีชีวิตของคนและยังสามารถบ่งชี้ถึงสภาวะการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เนื่องจากสิ่งบ่งชี้เหล่านี้เป็นอาการแสดงออกของกลไกการทำงานในระบบต่าง ๆ ของร่างกายว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น อัตราการเต้นของชีพจรเบาหรือแรงลักษณะที่ผิดปกติดังกล่าวย่อมส่งผลและแสดงถึงความผิดปกติของร่างกาย ผู้ดูแลควรวัดอุณหภูมิของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
การวัดอุณหภูมิหมายถึง การใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิสอดเข้าไปในส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย อุณหภูมิร่างกายของคนปกติซึ่งวัดทางปากมีค่าเฉลี่ยประมาณ 37 องศาเซลเซียส หรือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์
เครื่องมือวัดอุณหภูมิของร่างกายเรียกว่า ปรอทวัดไข้ มีลักษณะเป็นแท่งแก้วยาวประมาณ 5 นิ้ว ปลายข้างหนึ่งเป็นกระเปาะกับตัวแท่งเป็นคอด ข้างในแท่งแก้วมีขีดแสดงค่าของอุณหภูมิอาจมีหน่วยเป็นองศาเซลเซียสหรือองศาฟาเรนไฮน์ ปรอทที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกายมี 3 แบบคือ ใช้วัดทางปาก ทางรักแร้ และทางทวารหนัก
ปรอทที่ใช้วัดทางปากหรือทางรักแร้มีส่วนปลายที่บรรจุปรอทเป็นรูปเรียวเล็ก ส่วนปลายที่ใช้วัดทางทวารหนักส่วนปลายที่บรรจุปรอทมีลักษณะเป็นรูปกลมมนสั้น ๆ เพื่อป้องกันการเสียดสีหรือทำลายเยื่อบุผนังลำไส้ใหญ่
ข้อควรปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่เป็นโรคติดต่อที่บ้าน
เมื่อเกิดกาารเจ็บป่วยขึ้นที่บ้าน ผู้ที่ทำหน้าที่ให้การพยาบาลควรปฏิบัติดังนี้
1. จัดผู้ป่วยให้นอนแยกห้อง ไม่ปะปนกับผู้อื่น
2. รักษาความสะอาด และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทั้งภายในและภายนอกบ้าน อาจปฏิบัติ
ได้ดังนี้
2.1 การทำลายสิ่งปฏิกูลของผู้ป่วย เช่น อุจาระ ปัสสาวะ นำมูก นำลาย กระดาษเช็ดปาก เศษอาหาร เป็นต้น ควรทำลายโดยการเผาหรือใช้ยาฆ่าเชื้อโรค
2.2 การล้างมือ ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งด้วยสบู่ก่อนและหลังการพยาบาลผู้ป่วยและผู้พยาบาล เนื่องจากมือเป็นอวัยวะที่นำโรคได้เป็นอย่างดี
3. วัดปรอท จับชีพจร สังเกตการหายใจ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่เสมอ และสามารถนำผลจากการสังเกตรายงานให้แพทย์ทราบ จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการผู้ป่วยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ข้อควรคำนึงในการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้น
ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล และหลังจากที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องพักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกตินั้น การพยาบาลพักฟื้นที่บ้านนับว่ามีความสำคัญยิ่ง ซึ่งผู้พยาบาลควรคำนึงในสิ่งต่อไปนี้
1. ความสุขสบายของผู้ป่วย ผู้พยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บปวดและไม่สบาย เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัตและกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ผู้พยาบาลอาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง การจัดท่าให้ผู้ป่วยอย่ในท่าที่สบาย เป็นต้น
2. สุขภาพจิตของผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรเข้าใจผู้ป่วยในด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมา เพราะอารมณ์ของผูป่วยอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น หงุดหงิดและโกรธง่าย เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนมากเกิดไป และการแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ป่วย ซึ่งอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตนและผู้อื่น ดังนั้นผู้พยาบาลไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่พอใจต่อผู้ป่วย
3. ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในตนเอง เช่น การแนะนำการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง การให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยพักฟื้น เป็นต้น
4. การออกกำลังกายและการพักผ่อน ควรแนะนำและช่วยเหลือผู้ป่วยออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัตควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
5. อาหาร ควรแนะนำหรือจัดอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผู้ป่วยบางคนจะต้องกินอาหารเฉพาะแพทย์สั่ง เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ความดันโรหืตสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้พยาบาลควรให้กำลังใจและอภิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อได้รับควรร่วมมือจากผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหาร
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยในบ้าน
1. การล้างมือ การล้างมือเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่ง เพราะมือเป็นอวัยวะที่นำโรคได้อย่างดีที่สุด โดยการไปจับต้องสิ่งของมีเชื่อโรคแล้วไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ดังนั้นก่อนและหลังการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย จะต้องล้างมือให้สะอาด
2. การทำความสะอาดปากและฟันในกรณีที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ควรทำความสะอาดปากและฟันให้ผู้ป่วยตามปกติในตอนเช้า หลังอาหารทุกมือ และก่อนนอน โดยใช้สำลีพันปลายไม้ชุมนำยาสำหรับบ้วนปากหรือนำเกลือ เช็ดปากฟัน ลิ้นจนสะอาด ถ้าริมฝีปากแห้ง ควรใช้ขี้ผึ้งถ้าปาก หรือ ปิโตรเลียมเจลลี่ ทาริมฝีปากให้ก็ได้
3. การสระผม ถ้าผู้ป่วยสระผมเองไม่ได้ ควรสะผมให้ผู้ป่วยสัปดาห์และ 2 ครั้ง ดังนี้
4. การเช็ดตัวผู้ป่วย การเช็ดตัวผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น สบาย กระปรี้กระเปร่าขึ้น ส่วนมากจะนิยมเช็ดตัวทีละท่อน และแช่มือแช่เท้าประกอบกัน จะทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกประหนึ่งว่าได้อาบนำด้วยต้วเอง
5. การทำความสะอาดเตียง การทำความสะอาดเตียงผู้ป่วยต้องทำกันทุกวัน วันละหนึ่งครั้งในตอนเช้า เตียงผู้ป่วยจะต้องปูให้เรียนร้อย ตึง สะอาด น่าพักผ่อนและหลับสบาย ผู้พยาบาลต้องรู้หลักในการเปลี่ยนผ้าปูที่นอนขณะที่มีผู้ป่วยอย่บนเตียง ตามปกติควรจะทำความสะอาดเตียงหลังจากผู้ป่วยอาบน้ำหรือเช็ดตัวเรียบร้อยแล้ว ถ้าผู้ป่วยลุกขึ้นเดินไปทำความสะอาดร่างกายได้เองในห้องนำในเวลานั้นจะเป็นเวลาที่เหมาะสมในการทำความสะอาดเตียง วิธีการทำความสะอาดเตียง
6. การเตรียมผู้ป่วยรับประทานอาหาร การเตรียมผู้ป่วยสำหรับเวลารับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกอยากรับประทาน และรับประทานอาหารได้ดี
การจัดบ้านสำหรับการดูแลผู้ป่วย
เมื่อเลือกได้แล้วว่าจะให้ผู้ป่วยพักที่บ้านใคร ใครจะเป็นผู้ดูแล ก็จะมาถึงขั้นตอนการจัดบ้านให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยต้องมีความระมัดระวังให้มากยิ่งกว่าบ้านที่มีเด็กเล็กๆ เสียอีก เพราะผู้ป่วยยังเป็นผู้ใหญ่ที่อาจอยู่ดีๆ เข้าครัวไปทำกับข้าวด้วยตนเองหรือเข้าห้องอาบน้ำแล้วล็อคห้องไม่ยอมออกมาเลยก็ได้
การจัดบ้านทั่วๆ ไปไม่ควรมีของที่แตกหักได้ง่ายอยู่ในบ้าน และไม่ควรมีของชิ้นเล็กที่อาจติดคอได้อยู่ มีการติดตั้งล็อคที่ประตูบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยเดินออกไปข้างนอกคนเดียว เก็บสายไฟต่างๆ ให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการลื่นล้ม พยายามจัดบ้านให้เดินเหินสะดวกเรียบง่าย และอย่าเปลี่ยนการจัดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสับสน แสงสว่างในบ้านควรจะมีอย่างพอเพียงโดยเฉพาะบริเวณบันได หากมีการวางของใช้หรือของที่ผู้ป่วยคุ้นเคยไว้ตามที่ๆ ผู้ป่วยผ่านบ่อยๆ ก็อาจช่วยกระตุ้นความทรงจำและความคิดของผู้ป่วยได้บ้างแต่ไม่ควรวางไว้มากชิ้นจนเกินไปเพราะอาจทำให้สับสนได้
การจัดห้องครัวควรเก็บของมีคม เครื่องใช้ไฟฟ้า สารเคมีและสิ่งที่แตกหักได้ง่ายให้มิดชิดจากสายตาและมือของผู้ป่วย ควรมีการติดล็อคที่ตู้เก็บของต่างๆ ดังกล่าวและที่เก็บถังแก๊ส เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยสามารถจุดเตาเองได้ หากมีความจำเป็นอาจต้องล็อคห้องครัวเพื่อป้องกันผู้ป่วยด้วย
ห้องน้ำเป็นห้องที่ไม่สามารถปิดกั้นผู้ป่วยได้ จึงต้องมีการเก็บสารเคมีและของมีคมให้มิดชิดยิ่งกว่า รวมทั้งระวังเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อาจทำให้ไฟดูดหากโดนน้ำได้ ควรดัดแปลงประตูให้สามารถเปิดล็อคได้จากทั้งสองด้าน หากมีอุปกรณ์ทำน้ำร้อนควรสับสวิตซ์ป้องกันผู้ป่วยตั้งน้ำร้อนมากเกินไป มีการวางแผ่นยางกันลื่นไว้ตามที่ต่างๆ และมีราวจับหรือมีเก้าอี้สำหรับอาบน้ำให้ผู้ป่วย หากใช้ส้วมซึมควรเปลี่ยนมาใช้ชักโครกหรือซื้อเก้าอี้สำหรับถ่ายให้ผู้ป่วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น